การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Design)



.....ความนำ ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ผู้เขียน จะกล่าวถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะขอแบ่งขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
....ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
....ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
....ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)
....ง. ขั้นการจัดทำบทเรียน (Implementation)
....จ. ขั้นการประเมินบทเรียน (Evaluation)

....ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน ผู้เขียนขอนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นบางประการให้เข้าใจตรงกันก่อนดังนี้
.....ความหมาย การออกแบบระบบการเรียนการสอน เป็นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) มาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียนการสอนกล่าวคือ ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง จะมีการพิจารณาที่ปัจจัย (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลกระทบ (Impact)

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

….1.การจัดทำ แผนการสอน ของครูเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 1- 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นการออกแบบการสอนได้ หากมีการจัดทำแผนการสอนพิจารณาปัจจัยของการจัดการเรียนการสอนเช่นเป้าหมายของการสอน วัตถุประสงค์ของการสอน มีการวิเคราะห์เนื้อหา เลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกสื่อและวิธีการประเมินผลได้สอดคล้องกับกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของการสอน เมื่อนำแผนไปใช้จัดการเรียนการสอนแล้ว มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ประเมินกระบวนการทั้งหมดของแผนการสอน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

…..2.จากแผนการสอนที่ครูจัดทำเพื่อใช้สอนเพียง 1- 2 ชั่วโมง อาจมีการขยายขอบข่ายของเนื้อหาออกเป็น หน่วยการเรียนรู้ ที่สามารถใช้สอนได้หลายๆ ชั่วโมงขึ้นเป้าหมายของการสอน เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่าจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดจุดประสงค์ปลายทาง มีการออกแบบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดเนื้อหาย่อยๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม มีการวางแผนการเลือกใช้หรือจัดทำสื่อการสอน ในแต่ละกิจกรรมมีการนำเสนอเนื้อหา การฝึกและการประเมินผลระหว่างเรียน และประเมินผลหลังเรียนเมื่อเรียนจบหน่วย เราอาจเรียกการออกแบบการสอนในลักษณะนี้ว่า ชุดการเรียน

….3.หากเรากำหนดเนื้อหาและเป้าหมายของการสอนทั้ง คอร์ส (รายวิชา) หรือทั้งหลักสูตรแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ 2 ก็จะทำให้เรามี ชุดการเรียน หลายๆ ชุด ที่เป็นรายวิชาเดียวกัน จัดระบบใหม่ให้มีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตลอดรายวิชา สามารถนำผลการประเมินทั้งระหว่างเรียนในแต่ละชุดการเรียน และหลังจากที่เรียนครบทั้งรายวิชาแล้ว มาประเมินและตัดสินผลการเรียนของรายวิชาได้ เราก็เรียกว่า Courseware

....จากการแบ่งระดับของการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับดังกล่าวเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ระดับแผนการสอนเป็นการออกแบบโดยผู้สอนเอง ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสอนเอง เนื้อหาที่สอนเป็นเนื้อหาสั้นๆ ครูมักเลือกใช้สื่อที่มีอยู่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิต ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์ อาจเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะที่ใช้เป็นบทเรียนหลัก(ComprehensiveReplacement Media) บทเรียนเพิ่มเติม (Complementary Media) และบทเรียนเสริม(Supplementary Media) เนื้อหาที่จัดทำมีความซับซ้อนขึ้น การออกแบบบทเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา คุณลักษณะของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของผู้เรียน วิธีการนำเสนอบทเรียน การเลือกใช้สื่อและยุทธวิธีในการสอน การวัดและประเมินผล ต้องมีการทดลองใช้และปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้จริง จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายมาร่วมทำงานเป็นทีม
....บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์นั้น ต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมมือกัน ดังนี้
.....1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
.....2. นักออกแบบการสอน (Instructional Designer)
.....3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
.....4. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialist)
.....5. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมประยุกต์ (Programmer)
ประเภทของเนื้อหา

.....ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อการนำไปจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์นั้น
การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับการที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเรา
จึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะของเนื้อหาประเภทต่างๆ ก่อน ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน หน้า 3 14/03/49

.....Gagne (1985) ได้แบ่งประเภทของการเรียนรู้ไว้ 4 ประเภท ได้แก่
.....1. เนื้อหาที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information)
.....2. เนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill)
.....3. เนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill)
.....4. เนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)

.....เนื้อหาที่เหมาะสมจะนำมาออกแบบในรูปของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นเนื้อหา ประเภทที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information) และเนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill) มากกว่าเนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill) และเนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)