การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Design)
.....ความนำ ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ผู้เขียน จะกล่าวถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะขอแบ่งขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
....ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
....ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
....ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)
....ง. ขั้นการจัดทำบทเรียน (Implementation)
....จ. ขั้นการประเมินบทเรียน (Evaluation)
....ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน ผู้เขียนขอนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นบางประการให้เข้าใจตรงกันก่อนดังนี้
(Instructional System Design)
.....ความนำ ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ผู้เขียน จะกล่าวถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะขอแบ่งขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
....ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
....ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
....ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)
....ง. ขั้นการจัดทำบทเรียน (Implementation)
....จ. ขั้นการประเมินบทเรียน (Evaluation)
....ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน ผู้เขียนขอนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นบางประการให้เข้าใจตรงกันก่อนดังนี้
.....ความหมาย การออกแบบระบบการเรียนการสอน เป็นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) มาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียนการสอนกล่าวคือ ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง จะมีการพิจารณาที่ปัจจัย (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลกระทบ (Impact)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
….1.การจัดทำ แผนการสอน ของครูเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 1- 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นการออกแบบการสอนได้ หากมีการจัดทำแผนการสอนพิจารณาปัจจัยของการจัดการเรียนการสอนเช่นเป้าหมายของการสอน วัตถุประสงค์ของการสอน มีการวิเคราะห์เนื้อหา เลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกสื่อและวิธีการประเมินผลได้สอดคล้องกับกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของการสอน เมื่อนำแผนไปใช้จัดการเรียนการสอนแล้ว มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ประเมินกระบวนการทั้งหมดของแผนการสอน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
…..2.จากแผนการสอนที่ครูจัดทำเพื่อใช้สอนเพียง 1- 2 ชั่วโมง อาจมีการขยายขอบข่ายของเนื้อหาออกเป็น หน่วยการเรียนรู้ ที่สามารถใช้สอนได้หลายๆ ชั่วโมงขึ้นเป้าหมายของการสอน เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่าจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดจุดประสงค์ปลายทาง มีการออกแบบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดเนื้อหาย่อยๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม มีการวางแผนการเลือกใช้หรือจัดทำสื่อการสอน ในแต่ละกิจกรรมมีการนำเสนอเนื้อหา การฝึกและการประเมินผลระหว่างเรียน และประเมินผลหลังเรียนเมื่อเรียนจบหน่วย เราอาจเรียกการออกแบบการสอนในลักษณะนี้ว่า ชุดการเรียน
….3.หากเรากำหนดเนื้อหาและเป้าหมายของการสอนทั้ง คอร์ส (รายวิชา) หรือทั้งหลักสูตรแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ 2 ก็จะทำให้เรามี ชุดการเรียน หลายๆ ชุด ที่เป็นรายวิชาเดียวกัน จัดระบบใหม่ให้มีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตลอดรายวิชา สามารถนำผลการประเมินทั้งระหว่างเรียนในแต่ละชุดการเรียน และหลังจากที่เรียนครบทั้งรายวิชาแล้ว มาประเมินและตัดสินผลการเรียนของรายวิชาได้ เราก็เรียกว่า Courseware
....จากการแบ่งระดับของการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับดังกล่าวเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ระดับแผนการสอนเป็นการออกแบบโดยผู้สอนเอง ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสอนเอง เนื้อหาที่สอนเป็นเนื้อหาสั้นๆ ครูมักเลือกใช้สื่อที่มีอยู่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิต ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์ อาจเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะที่ใช้เป็นบทเรียนหลัก(ComprehensiveReplacement Media) บทเรียนเพิ่มเติม (Complementary Media) และบทเรียนเสริม(Supplementary Media) เนื้อหาที่จัดทำมีความซับซ้อนขึ้น การออกแบบบทเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา คุณลักษณะของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของผู้เรียน วิธีการนำเสนอบทเรียน การเลือกใช้สื่อและยุทธวิธีในการสอน การวัดและประเมินผล ต้องมีการทดลองใช้และปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้จริง จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายมาร่วมทำงานเป็นทีม
…..2.จากแผนการสอนที่ครูจัดทำเพื่อใช้สอนเพียง 1- 2 ชั่วโมง อาจมีการขยายขอบข่ายของเนื้อหาออกเป็น หน่วยการเรียนรู้ ที่สามารถใช้สอนได้หลายๆ ชั่วโมงขึ้นเป้าหมายของการสอน เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่าจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดจุดประสงค์ปลายทาง มีการออกแบบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดเนื้อหาย่อยๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม มีการวางแผนการเลือกใช้หรือจัดทำสื่อการสอน ในแต่ละกิจกรรมมีการนำเสนอเนื้อหา การฝึกและการประเมินผลระหว่างเรียน และประเมินผลหลังเรียนเมื่อเรียนจบหน่วย เราอาจเรียกการออกแบบการสอนในลักษณะนี้ว่า ชุดการเรียน
….3.หากเรากำหนดเนื้อหาและเป้าหมายของการสอนทั้ง คอร์ส (รายวิชา) หรือทั้งหลักสูตรแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ 2 ก็จะทำให้เรามี ชุดการเรียน หลายๆ ชุด ที่เป็นรายวิชาเดียวกัน จัดระบบใหม่ให้มีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตลอดรายวิชา สามารถนำผลการประเมินทั้งระหว่างเรียนในแต่ละชุดการเรียน และหลังจากที่เรียนครบทั้งรายวิชาแล้ว มาประเมินและตัดสินผลการเรียนของรายวิชาได้ เราก็เรียกว่า Courseware
....จากการแบ่งระดับของการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับดังกล่าวเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ระดับแผนการสอนเป็นการออกแบบโดยผู้สอนเอง ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสอนเอง เนื้อหาที่สอนเป็นเนื้อหาสั้นๆ ครูมักเลือกใช้สื่อที่มีอยู่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิต ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์ อาจเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะที่ใช้เป็นบทเรียนหลัก(ComprehensiveReplacement Media) บทเรียนเพิ่มเติม (Complementary Media) และบทเรียนเสริม(Supplementary Media) เนื้อหาที่จัดทำมีความซับซ้อนขึ้น การออกแบบบทเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา คุณลักษณะของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของผู้เรียน วิธีการนำเสนอบทเรียน การเลือกใช้สื่อและยุทธวิธีในการสอน การวัดและประเมินผล ต้องมีการทดลองใช้และปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้จริง จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายมาร่วมทำงานเป็นทีม
....บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์นั้น ต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมมือกัน ดังนี้
.....1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
.....2. นักออกแบบการสอน (Instructional Designer)
.....3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
.....4. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialist)
.....5. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมประยุกต์ (Programmer)
.....1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
.....2. นักออกแบบการสอน (Instructional Designer)
.....3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
.....4. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialist)
.....5. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมประยุกต์ (Programmer)
ประเภทของเนื้อหา
.....ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อการนำไปจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์นั้น
การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับการที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเรา
จึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะของเนื้อหาประเภทต่างๆ ก่อน ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน หน้า 3 14/03/49
.....Gagne (1985) ได้แบ่งประเภทของการเรียนรู้ไว้ 4 ประเภท ได้แก่
.....1. เนื้อหาที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information)
.....2. เนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill)
.....3. เนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill)
.....4. เนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)
.....เนื้อหาที่เหมาะสมจะนำมาออกแบบในรูปของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นเนื้อหา ประเภทที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information) และเนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill) มากกว่าเนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill) และเนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)
.....ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อการนำไปจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์นั้น
การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับการที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเรา
จึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะของเนื้อหาประเภทต่างๆ ก่อน ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน หน้า 3 14/03/49
.....Gagne (1985) ได้แบ่งประเภทของการเรียนรู้ไว้ 4 ประเภท ได้แก่
.....1. เนื้อหาที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information)
.....2. เนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill)
.....3. เนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill)
.....4. เนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)
.....เนื้อหาที่เหมาะสมจะนำมาออกแบบในรูปของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นเนื้อหา ประเภทที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information) และเนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill) มากกว่าเนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill) และเนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น